OEE-Overall Equipment Effectiveness


OEE คืออะไร

Overall Equipment Effectiveness – OEE เป็นการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Availability, Performance และ Quality

OEE = Availability x Performance x Quality

Availability

“Availability %” (อัตราการเดินเครื่อง) คือความพร้อมของเครื่องจักรในการทำงาน ระยะเวลาที่เครื่องจักรหยุด (Downtime loss) มีสาเหตุมาจากเครื่องจักรขัดข้อง (Breakdowns) การปรับแต่งเครื่องจักร (Setup, Adjustments) หรือการจัดการกระบวนการการทำงานที่ไม่ดี (Management)

Performance

“Performance %” (ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง) คือสมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร การสูญเสียประสิทธิภาพ (Performance loss) มีสาเหตุมาจากการหยุดเล็กน้อย การเดินเครื่องตัวเปล่า (Minor Stoppage and Idling Losses) และการสูญเสียความเร็วของเครื่องจักร (Speed Losses)

Quality

“Quality %” (อัตราคุณภาพ) คือความสามารถในการผลิตของดีตรงตามข้อกำหนดของเครื่องจักร การสูญเสียด้านคุณภาพ (Quality Loss) มีสาเหตุมาจากความสูญเสียเนื่องจากชิ้นงานเสีย (Defects) งานซ่อม (Rework) และความสูญเสียช่วงเริ่มต้นการผลิต (Start up Loss)

ค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) คือค่าที่ได้จากผลคูณระหว่างอัตราการเดินเครื่อง ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง และอัตราคุณภาพ ซึ่งแสดงถึงความพร้อมของเครื่องจักรในการใช้งานว่าเป็นอย่างไร การเดินเครื่องจักรเต็มความสามารถหรือไม่ มีการผลิตชิ้นงานเสียมากน้อยเท่าไร

เกณฑ์มาตรฐานของ OEE

ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์(Overall Equipment Effectiveness : OEE) ที่ตั้งเป็นมาตรฐานโดยทั่วไป

อัตราการเดินเครื่อง(Availability) = 90%

ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง(Performance Efficiency) = 95%

อัตราคุณภาพ(Quality Rate) = 99%

แสดงผลค่าของ OEE ประมวณผลแบบ Real Time

สามารถดูข้อมูลการผลิตผ่านมือถือ ,Desktop ,Tablet ดูผ่าน Production Office หรือ ดูผ่าน Internet เมื่ออยู่ภายนอกโรงงาน แสดงยอดและภาพรวมกระบวนการผลิต สะดวกบริหารจัดการง่าย

แสดงข้อมูลการผลิตแบบ Real Time ผ่านทางหน้าจอแสดงผลLED TV/Monitor

ระบบ Overall Equipment Effectiveness จะมีการแสดงผลข้อมูลในกระบวนการผลิตเช่น Plan Actual Diff Target OEE แบบ Real time ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานหรือวิศวกรที่เกี่ยวข้องรู้ได้ทันที่

ข้อควรระวังในการใช้ OEE

ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน แม่นยำ ทุกการคำนวณในโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีการจดบันทึกที่ครบถ้วน ถูกต้อง หากขาดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจะทำให้ข้อมูลในการคำนวณน้อยเกินไป ทำให้ผลการคำนวณออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียในระยะยาว

หน่วยการคำนวณต้องเหมือนกัน หากข้อใดข้อหนึ่งใช้ตัวแปรด้านเวลาเป็นหน่วยชั่วโมง ตัวแปรด้านเวลาของข้อที่เหลือจำเป็นต้องใช้หน่วยชั่วโมงเช่นกัน หากเป็นนาที ก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นนาทีเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่คำนวณได้จะผิดเพี้ยน

สำหรับการทำงานจริงแล้ว นอกจากการคำนวณด้วยบุคคล การใช้เครื่องมือประเภท IoT ในการเก็บข้อมูลการทำงาน ก่อนทำผ่านการประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณค่าสำหรับโรงงาน อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ง่ายกว่า ลดความผิดพลาดได้มากกว่า เหมาะสำหรับการทำงานในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง

สรุปบทความ

ความรู้พื้นฐานอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในการปรับปรุงค่า OEE คือต้องรู้ว่าค่า Availability จะต่ำหรือสูงขึ้นอยู่กับว่า Shutdown losses มีมากหรือน้อย ค่า Performance Efficiency จะต่ำหรือสูงขึ้นอยู่กับว่า Capacity losses มีมากหรือน้อย และ ค่า Quality Rate จะต่ำหรือสูง ขึ้นอยู่กับว่า Yield losses มีมากหรือน้อย และเมื่อเรามีความรู้พื้นฐานดังกล่าว จะทำให้เราทราบว่าหากต้องการปรับปรุงค่า Availability เราต้องพยายามลด Shutdown losses เช่น Machine Breakdown, Process Setup, และ เหตุการณ์ต่างๆใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เครื่องจักรต้องหยุดเดิน หากเราต้องการปรับปรุงค่า Performance Efficiency เราต้องพยายามลด Capacity losses เช่น Machine Idle, Process Startup และ เหตุการณ์ต่างๆใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วทำให้เครื่องจักรเสียความเร็วหรือเสียยอดการผลิต และหากต้องการปรับปรุงค่า Quality Rate เราต้องพยายามลด Yield losses เช่น Defect, Rework และเหตุการณ์ต่างๆใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วทำให้อัตราการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่ำลง

อย่างไรก็ตามการปรับปรุงค่า OEE ควรจะมีทีมเฉพาะกิจขึ้นมาคิด คำนวน และตั้งเป้าหมาย รวมถึงการวางกลยุทธ์ ทั้งนี้เพื่อการปรับปรุงไปในทางเดียวกันทั้งโรงงาน

แชร์


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จํากัด

ที่อยู่: 24 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์: 0-2519-8153

Email: sales@itthirittechnology.com

LINE @itthiritiot

Facebook : Itthirit Technology - IoT, Industry 4.0, Monitoring System, RTU