“FIoT” นวัตกรรมใหมสำหรับอุตสาหกรรมโรงงานอาหารผลิตอาหาร


โลกของอุตสาหกรรม กำลังถูกเร่งเร้าให้เปลี่ยนแปลงจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ไอโอที (IoT) ไม่เว้นแต่อุตสากรรมการผลิตอาหาร ที่เล็งที่จะใช้ ไอโอที เพื่อเปลี่ยนกระบวนการผลิต…

Food Factory Internet of Things Platfrom จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในขบวนการควบคุมต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบเซนเซอร์จะมีการติดตามตลอดเวลาและรายงานผลแบบออนไลน์ตลอด 24 ชม. ส่งผลให้กระบวนการผลิตสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียค่าใช้จ่าย ลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า และยังสามารถลดการใช้แรงงานคนจัดการคลังสินค้า

“FIoT นวัตกรรมใหมสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหาร

เรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยังคงเป็นเรืองที่ส่งผลกระทบตอธุรกิจในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม เพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จาก ไอโอที อย่างเต็มที่ จากภายในโรงงานของตนเอง และก้าวไปสู่การการเชื่อมโยงผู้คน เครื่องจักร และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต

อย่างไรก็ดีล่าสุดมีข่าวออกมาว่า ได้มีนักพัฒนา ได้คิดค้นนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีไอโอทีออกมาสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารโดยเฉพาะแล้ว และไม่ใช่เป็นเพียงแนวคิด หรืองานวิจัยอีกด้วย ซึ่งในส่วนตัวของผู้เขียนเชื่อว่างานวิจัยที่ดีนั้นต้องสามารถนำมาต่อยอดใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่เรื่องของการวิจัยแล้ววางขึ้นหิ้ง

งานวิจัยในยุคใหม่ต้องไม่เป็นเพียงแค่กรณีศึกษาหรือเพื่อหาความรู้เท่านั้น แต่จะต้องสามารถนำมาต่อยอดและก่อให้เกิดมูลค่าในทางเศรษฐกิจ มีประโยชน์ในวงกว้าง รวมทั้งเป็นต้นแบบในการส่งเสริมวัฒนธรรมการคิดค้นสิ่งใหม่ๆในระดับองค์กรให้เกิดขึ้นได้อย่างแพร่หลาย

ทั้งนี้ ภาคส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการผลักดันและใช้ประโยชน์จากงานวิจัยอย่างจริงจังก็คือภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นแต้มต่อที่ทำให้เกิดความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์และบริบทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีที่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการหันมาใช้งานวิจัยในการขับเคลื่อนธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากสินค้า และการบริการในท้องตลาดที่มีความแปลกใหม่ รวมทั้งนวัตกรรมจำนวนมากมายที่ขายจริงบนช่องทางการค้า

โดยนวัตกรรมที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย ที่ทาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรม “ตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม” และนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ และมีนวัตกรรมที่เกิดจากการนำเอาเทคโนโลยี ไอโอที ไปพัฒนากระบวนการผลิตอาหาร ได้จริง

ที่สำคัยเป็นงานวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom : Intelligent Platform for Leveraging Productivity and Maker Performance ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องที่มีผลต่อกระบวนการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย

โดย ดร.พุฑฒิพงษ์ มหาสุคนธ์ ทีมวิจัย Food Factory Internet of Things Platfrom -Intelligent Platform for Leveraging Productivity and Maker Performance ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ทำวิจัยได้เล่าว่า ทางทีมวิจัยทำการค้นคว้าอยู่ประมาณ 2-3 ปี เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ

ในการเข้าไปดูแลระบบการทำงานของอุตสาหกรรมอาหาร เพราะในประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ขนาดย่อม รวมถึงวิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมไทยนั้นอาหารยังขาด “ไอโอที มาเก็ต” หรือผู้ที่มีความถนัดเฉพาะด้านอิเล็กทรอนิกส์และความสามารถด้านซอฟต์แวร์

ส่งผลให้ไม่สามารถวินิฉัยหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตได้ รวมทั้งไม่สามารถลดงานเอกสารเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Good Manufacturing Practice หรือ GMP) ปัญหาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยชิ้นนี้

โดย Food Factory Internet of Things จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในขบวนการควบคุมต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบการผลิตอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบเซนเซอร์จะมีการติดตามตลอดเวลาและรายงานผลแบบออนไลน์ตลอด 24 ชม. ส่งผลให้กระบวนการผลิตสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ลดการสูญเสียค่าใช้จ่าย ลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า และยังสามารถลดการใช้แรงงานคนจัดการคลังสินค้า ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจช่วยลดต้นทุนการสูญเสีย และเพิ่มจำนวนการผลิตได้มากกว่าที่ผ่านมา สำหรับตัวเซนเซอร์ที่ทีมวิจัยได้ศึกษานั้นเรียกว่าระบบตรวจสอบอัตโนมัติ (Monitoring Automatic)

ซึ่งตัวเซ็นเซอร์สามารถตรวจวัดสถานะหรือปัญหาที่มีผบกระทบต่อกระบวนการผลิตได้ทั้งหมด 9 กระขบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารได้แก่

1. กระบวนการควบคุมความร้อม

2. กระบวนการควบคุมแรงดัน

3. กระบวนการทำให้แห้ง

4. กระบวนการควบคุมความชื้น

5. กระบวนการควบคุมส่วนผสม

6. กระบวนการฆ่าเชื้อ

7. กระบวนการควบคุมคุณภาพ

8. การนับ Stock

9. การวัด Cycle Time

โดยการตรวจวัดจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบว่าต้องการจะให้ระบบตรวจวัดในขบวนการใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าอุตสาหกรรมนั้นๆผลิตหรือมีปัญหาอะไรตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามหากอุตสาหกรรมอาหารสามารถรู้ถึงปัญหาหรือจุดบกพร่องระหว่างการผลิตก็จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และลดความสูญเสียลงไปได้

แพลตฟอร์ม Food Factory Internet of Things ประกอบด้วย

ระบบการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ : ซึ่งสามารถทำได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร เพราะโดยทั่วไประบบฐานข้อมูลของโรงงานจะใช้ระบบเครื่องจักรคุยกับเครื่องจักร (Machine to Machine หรือ M2M) และเป็นระบบการรายงานผลข้อมูลด้วยระบบออนไลน์

ดังนั้นตัวเซ็นเซอร์ Food Factory Internet of Things ที่นำไปติดสามารถเข้าไปทำงานร่วมกับระบบดังกล่าวได้โดยไม่ติดขัด เพราะการเรียกดูข้อมูลของFIotไม่ได้เรียกตลอดเวลา เราสามารถระบุได้ว่าต้องการข้อมูลในช่วงใดบ้าง ช่วยลดการรบกวนการทำงานของระบบโรงงานอุตสาหกรรมลง ทำให้ข้อมูลที่ตรวววัดมีความแม่นยำมากขึ้น

ระบบควบคุมอัจฉริยะทั้งรูปแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และ programmable logic controller (PLC) : ซึ่งทั้ง 2 ระบบเป็นระบบควบคุมเครื่องจักรของไลน์การผลิตในโรงงาน โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์จะไม่เข้าไปรบกวนการทำงาน สามารถตรวจวัดข้อบกพร่องต่างๆรวมกับระบบควบคุมเครื่องจักร และไม่ทำให้ไลน์การผลิตเสียหาย

ติดตั้งที่ง่าย และรวดเร็ว ด้วยระบบ building information modeling : ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนติดตั้งระบบเซ็นเซอร์จะต้องมีการออกแบบจุดที่จะติดเซ็นเซอร์ก่อนทุกครั้ง แต่ระบบ Food Factory Internet of Things Platfrom จะออกแบบโดยการขอแปลนโรงงาน และนำมาออกแบบว่าจะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรงจุดใด โดยจะมีวิศวกรที่ทำหน้าที่ออกแบบโมเดล วิธีการดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลา ทำให้เกิดความแม่นยำในการติดตั้งแต่ละจุด

รูปแบบการวิเคราะห์ด้วย online web-based : เพื่อทำให้งานได้อย่างราบรื่นตัวระบบการทำงานของเซ็นเซอร์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานจำเป็นจะต้องเพิ่ม หรือลดขบวนการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของโรงงาน ณ ขณะนั้น

การให้บริการ Cloud as a software service : เพื่อลดปัญหาเรื่องของการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นแหล่งในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวระบบจึงถูกออกแบบมาให้รองรับข้อมูลที่ได้จากวินิจฉัยผ่านตัวเซนเซอร์ทั้งหมด โดยหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กสามารถทำได้ผ่านระบบ Google Sheet ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ด้านการแก้ไขข้อมูลสามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งจะลดกระบวนการตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพง่ายต่อการนำไปใช้

แชร์


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จํากัด

ที่อยู่: 24 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์: 0-2519-8153

Email: sales@itthirittechnology.com

LINE @itthiritiot

Facebook : Itthirit Technology - IoT, Industry 4.0, Monitoring System, RTU