ยกระดับจาก “อัตโนมัติ” สู่ “อัจฉริยะ”


อุตสาหกรรมยุคมีการใช้ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็ว ในการผลิต ทำ ให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง ราคาสินค้าถูกลง แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องปริมาณสินค้า ที่ผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด และ โรงงานไม่อาจจะผลิตจำนวนน้อยได้

ทั้งระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์รับข้อมูลหรือ คำสั่งในการผลิตได้ทางเดียว แต่เมื่อติดตั้งเซ็นเซอร์ ทำให้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์นั้นถูกยกระดับ มาเป็นระบบอัจฉริยะ สามารถรับ-ส่งข้อมูล และ ประมวลผลได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าสื่อสารได้สองทาง นอกจากจะสื่อสารกันได้เอง ก็ยังสื่อสารกับคน และ กับระบบการผลิตได้ด้วย

ตัวอย่างหุ่นยนต์อัตโนมัติ Kuka ของบริษัท Kuka Robotics สามารถโต้ตอบกับหุ่นยนต์ตัวอื่นได้ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้เปลี่ยนไป ตามไลน์การผลิต หรือ หุ่นยนต์Umiของบริษัท สามารถประกอบชิ้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคียงข้างกับมนุษย์ เพราะมีเซ็นเซอร์และหน่วยควบคุมระดับสูง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) ทำ ให้มันสามารถจดจำ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ อย่างแม่นยำ สามารถป้องกันการปะทะกับคนหรือ สิ่งของทำ ให้การทำงานมีความปลอดภัยสูง

หุ่นยนต์ Kuka ประกอบรถยนต์

หุ่นยนต์ Umi ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

เป้าหมายของระบบผลิตอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ คือ ให้ทุกหน่วยของการผลิตมีความเป็น “อัจฉริยะ” ไม่ว่าจะเป็นหน่วยผลิตชิ้นส่วน หน่วยประกอบ และ หน่วยวัดหรือทดสอบต่างๆ รวมถึงหน่วยควบคุม การใช้พลังงานในการผลิต แต่การเปลี่ยนแปลงทุก หน่วยพร้อมๆ กันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ระบบการผลิตอัจฉริยะ จึงมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปทีละส่วนหรือ ทีละหน่วยในระบบการผลิต

แชร์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาต


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท อิทธิฤทธิ์ เทคโนโลยี จํากัด

ที่อยู่: 24 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์: 0-2519-8153

LINE @itthiritiot

Email: sales@itthirittechnology.com

Facebook : Itthirit Technology - IoT, Industry 4.0, Monitoring System, RTU